รายวิชา
การงานอาชีพและเทคโนโลยี
กลุ่มสาระการเรียนรู้
การงานอาชีพและเทคโนโลยี
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เวลาเรียน 8
ชั่วโมง
มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด
ง 1.1 ม.1/1 วิเคราะห์ขั้นตอนการทำงานตามกระบวนการทำงาน
ม.1/2 ใช้กระบวนการกลุ่มในการทำงานด้วยความเสียสละ
ม.1/3 ตัดสินใจแก้ปัญหาการทำงานอย่างมีเหตุผล
สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด
อาหารมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิต
การเรียนรู้กระบวนการทำงานจะทำให้สามารถเตรียม ประกอบ จัด ตกแต่ง ประกอบอาหาร
และสามารถแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรได้
สาระการเรียนรู้
3.1 สาระการเรียนรู้แกนกลาง
1) ขั้นตอนการทำงาน เป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติงานตามทักษะกระบวนการทำงาน
โดยทำตามลำดับขั้นตอนที่วางแผนไว้
2)
กระบวนการกลุ่ม เป็นวิธีการทำงานตามขั้นตอน คือ การเลือกหัวหน้ากลุ่ม
กำหนดเป้าหมาย วางแผน
แบ่งงานตามความสามารถ ปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่
ประเมินผลและปรับปรุงงาน เช่น
-
การเตรียม ประกอบ จัด ตกแต่ง และบริการอาหาร
-
การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร
3)
ความเสียสละเป็นลักษณะนิสัยในการทำงาน
4)
การแก้ปัญหาในการทำงานเพื่อให้เกิดความคิดหาวิธีการแก้ปัญหาต่างๆ
3.2
สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น
-
สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
4.1 ความสามารถในการคิด
-
ทักษะการคิดวิเคราะห์
- ทักษะการคิดเป็นระบบ
- ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
4.2
ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
- กระบวนการปฏิบัติ
-
กระบวนการทำงานกลุ่ม
คุณลักษณะอันพึงประสงค์
1. มีวินัย
2. ใฝ่เรียนรู้
3. มุ่งมั่นในการทำงาน
ชิ้นงาน/ภาระงาน (รวบยอด)
โครงงานการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร
การวัดและการประเมินผล
7.1 การประเมินก่อนเรียน
- นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3
7.2
การประเมินระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
1) การเล่นเกม
2) ใบงานที่ 1.1 เรื่อง เครื่องมือที่ใช้ในการประกอบอาหาร
3) ใบงานที่ 1.2 เรื่อง รายการอาหารใน
1 สัปดาห์
4) ใบงานที่ 1.3 เรื่อง การประกอบอาหาร
5) สังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม
7.3 การประเมินหลังเรียน
-
นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 3
7.4
การประเมินชิ้นงาน/ภาระงาน (รวบยอด)
- ประเมินโครงงานการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร
|
คุณภาพผลงาน
/ ระดับคะแนน
|
|||||
ดีมาก
(4)
|
ดี
(3)
|
พอใช้
(2)
|
ปรับปรุง
(1)
|
|||
1. ขั้นตอน
การทำงาน
|
ปฏิบัติงานตามขั้นตอนที่วางแผนไว้ครบถ้วนสมบูรณ์
|
ปฏิบัติงานตามขั้นตอนที่วางแผนไว้เป็นส่วนใหญ่
|
ปฏิบัติงานตามขั้นตอนที่วางแผนไว้เพียงเล็กน้อย
|
ไม่ปฏิบัติงานตามขั้นตอนที่วางแผนไว้
|
||
2. การแก้ปัญหา
ในการทำงาน
|
สามารถแก้ปัญหา
ที่เกิดขึ้นในการทำงานได้เป็นอย่างดี
และถูกต้อง
|
สามารถแก้ปัญหา
ที่เกิดขึ้นในการทำงานได้เป็น
ส่วนใหญ่ และเกือบถูกต้องทั้งหมด
|
สามารถแก้ปัญหา
ที่เกิดขึ้นในการทำงานได้แต่ยังไม่ถูกต้อง
|
ไม่สามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในการทำงานได้
|
||
3. การใช้ภาษา
|
ใช้ภาษาได้สละสลวยเร้าใจ
ชวนติดตาม
|
ใช้ภาษาได้ถูกต้องเป็นส่วนใหญ่
|
ใช้ภาษาได้ถูกต้อง
เป็นบางส่วน
|
ใช้ภาษาไม่ค่อยเหมาะสม
ไม่น่าอ่าน
|
||
4. ความเรียบร้อย
สวยงาม
|
ผลงานประณีต มีความเรียบร้อย สะอาด และสวยงาม
|
ผลงานประณีต มีความเรียบร้อย สะอาด
แต่ไม่ค่อยสวยงาม
|
ผลงานไม่ค่อยประณีต ไม่เรียบร้อย แต่มีความสวยงามบ้างเล็กน้อย
|
ผลงานไม่เสร็จสมบูรณ์ และไม่เรียบร้อย
|
||
5. การนำเสนอ
โครงงาน
|
มีการนำเสนอผลงานเป็นลำดับขั้นตอน มีรูปภาพประกอบทุกขั้นตอน
ชัดเจน
|
มีการนำเสนอผลงานเป็นลำดับขั้นตอน
มีรูปภาพประกอบบ้างบางส่วน
|
มีการนำเสนอผลงานเป็นลำดับขั้นตอน
ไม่มีรูปภาพประกอบ
|
มีการนำเสนอผลงานไม่เป็นลำดับขั้นตอน ไม่มีรูปภาพประกอบ
|
เกณฑ์การตัดสินคุณภาพ
ช่วงคะแนน
|
ระดับคุณภาพ
|
17 -
20
|
ดีมาก
|
13 -
16
|
ดี
|
9 -
12
|
พอใช้
|
5 -
8
|
ปรับปรุง
|
กิจกรรมการเรียนรู้
w
นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3
กิจกรรมที่
1
|
ความสำคัญของอาหารและโภชนาการ
|
เวลา
4 ชั่วโมง
|
วิธีสอนโดยการใช้เกม
และวิธีสอนโดยการจัดการเรียนรู้
แบบร่วมมือ :
เทคนิคการต่อเรื่องราว (Jigsaw)
|
1. ครูอธิบายให้นักเรียนรู้ถึงความสำคัญของอาหารว่ามีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างไร
2. ครูให้นักเรียนศึกษาความรู้เรื่อง
หลักการเลือกบริโภคอาหาร จากหนังสือเรียน
3. ครูให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม
กลุ่มละ 5 คน จากนั้นครูอ่านวิธีการเล่นเกมและกฎ
กติกาให้นักเรียนฟัง
4. นักเรียนแต่ละกลุ่มเล่นเกม
เมื่อจบเกมครูรวมคะแนนและประกาศกลุ่มที่ได้คะแนนมากที่สุด
5. ครูให้นักเรียนดูภาพเครื่องมือที่ใช้ในการประกอบอาหาร
โดยตั้งประเด็นคำถามให้นักเรียนร่วมกันวิเคราะห์ว่า
เครื่องมือแต่ละชนิดมีวิธีการใช้และการดูแลอย่างไร
6. ครูให้นักเรียนทำใบงานที่ 1.1
เรื่อง เครื่องมือที่ใช้ในการประกอบอาหาร แล้วออกมานำเสนอ
ผลงานที่หน้าชั้นเรียน
7. ครูให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม
กลุ่มละ 4 คน แล้วกำหนดหมายเลขให้สมาชิกแต่ละคน
ตั้งแต่หมายเลข
1-4 จากนั้นให้สมาชิกที่มีหมายเลขเดียวกันมารวมกลุ่มเป็นกลุ่มใหม่ และศึกษาความรู้
จากหนังสือเรียนตามหัวข้อที่กำหนด
ดังนี้
- หมายเลข 1 ศึกษาเรื่อง
การเลือกซื้ออาหารสด
- หมายเลข 2 ศึกษาเรื่อง
การเลือกซื้ออาหารแห้ง
- หมายเลข 3 ศึกษาเรื่อง
การเตรียมวัตถุดิบในการประกอบอาหาร
- หมายเลข 4 ศึกษาเรื่อง
การประกอบอาหาร
8. เมื่อนักเรียนแต่ละหมายเลขศึกษาความรู้ที่ได้รับมอบหมายจนเข้าใจแล้ว
ให้กลับมาที่กลุ่มเดิม
จากนั้นให้แต่ละหมายเลขอธิบายความรู้ให้สมาชิกหมายเลขอื่นๆ
ฟัง
9. ครูให้นักเรียนทำใบงานที่ 1.2
เรื่อง รายการอาหารใน 1 สัปดาห์
10. ครูให้แต่ละกลุ่มทำใบงานที่ 1.3
เรื่อง การประกอบอาหาร โดยให้อ่านคำสั่งและวางแผนการทำงานล่วงหน้า
11. ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่ม สรุปผลการปฏิบัติงานของกลุ่มตนเองที่หน้าชั้นเรียน
ครูประเมินผลงานเป็นกลุ่ม
12. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความรู้เกี่ยวกับความสำคัญของอาหาร
กิจกรรมที่
2
|
การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร
|
เวลา
4 ชั่วโมง
|
วิธีสอนแบบโครงงาน
|
1. ครูทบทวนความรู้เกี่ยวกับการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร
พร้อมยกตัวอย่าง เช่น กล้วยฉาบ
เนื้อเค็ม แยมผลไม้ เป็นต้น
2. ครูอธิบายวิธีการเขียนโครงงาน
แล้วแบ่งนักเรียนออกเป็น 9 กลุ่ม ให้แต่ละกลุ่มช่วยกันศึกษาความรู้เรื่อง
การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร จากหนังสือเรียน
3. หัวหน้ากลุ่มออกมาจับสลากเลือกหัวข้อในการทำโครงงาน
ดังนี้
- การทำแห้ง - การทำเค็ม - การหมักดอง - การเชื่อม - การแช่อิ่ม - การกวน
- การฉาบ - การทำแยม/เยลลี่ - การทำน้ำผลไม้
4. สมาชิกในกลุ่มช่วยกันแสดงความคิดเห็น
และวิเคราะห์ตัดสินใจเลือกชนิดของผลผลิตการเกษตรที่จะนำมาทำโครงงานแปรรูปผลผลิตการเกษตร
โดยมีครูคอยให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิด
5. นักเรียนแต่ละกลุ่มส่งผลการบันทึกให้ผู้สอนตรวจสอบ
เพื่อให้สามารถนำไปปฏิบัติจริงได้
6. นักเรียนลงมือปฏิบัติตามแผนที่วางไว้
ในห้องปฏิบัติการ
7. หัวหน้ากลุ่มรวบรวมข้อมูลในการปฏิบัติโครงงานเป็นแฟ้มสะสมผลงาน
หัวหน้ากลุ่มออกมา
นำเสนอผลงานที่หน้าชั้นเรียน
ครูตรวจผลการปฏิบัติงานเป็นกลุ่ม
w นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3
สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
9.1
สื่อการเรียนรู้
1) หนังสือเรียน การงานอาชีพและเทคโนโลยี ม.1
2) บัตรเกม
3) วัสดุ อุปกรณ์
และวัตถุดิบที่ใช้ในการประกอบอาหาร
4) ผลผลิตการแปรรูปทางการเกษตร เช่น กล้วยฉาบ
เนื้อเค็ม แยมผลไม้
5) สลาก
6) ใบงาน
9.2
แหล่งการเรียนรู้
1) ห้องสมุด 2) ห้องปฏิบัติการ
3) แหล่งข้อมูลสารสนเทศ
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 อาหารกับการดำรงชีวิต
คำชี้แจง ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว
1. ข้อใดเป็นการวางแผนปฏิบัติงาน
ก. นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5-7 คน
ข. นักเรียนแบ่งหน้าที่รับผิดชอบกันในกลุ่ม
ค.
นักเรียนแสดงความคิดเห็นและรับฟังความคิดเห็นของสมาชิกในกลุ่ม
ง. นักเรียนกำหนดวัตถุประสงค์ เป้าหมาย
และปฏิทินการปฏิบัติงาน
2. วัตถุประสงค์และเป้าหมาย
ต่างกันอย่างไร
ก. เหมือนกัน ไม่แตกต่าง
ข. เป้าหมาย
จะเขียนระบุคุณภาพและจำนวนของผลผลิตที่ได้
ค. วัตถุประสงค์
จะเขียนระบุจำนวนเป็นตัวเลขเท่านั้น
ง. เป้าหมาย เน้นขั้นตอนการปฏิบัติงาน
3. ข้อใดเป็นผลผลิตที่ได้จากการแปรรูป
ก. ถั่วงอก ข. ถั่วเขียว
ค. สับปะรดกวน ง. มะขามหวาน
4. วัตถุดิบในข้อใด
ที่สามารถแปรรูปด้วยวิธีการเชื่อมได้
ก. มันสำปะหลัง ข. ไข่เป็ด
ค. แตงโม ง. หมูหวาน
5. อาหารหมู่ใด
ช่วยสร้างเซลล์และเนื้อเยื่อต่างๆ ช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ
ก. หมู่ที่ 4 ข. หมู่ที่ 3
ค. หมู่ที่ 2 ง. หมู่ที่ 1
6. อาหารหมู่ใด
ที่ช่วยให้ระบบขับถ่ายเป็นปกติ
ก. หมู่ที่ 4 ข. หมู่ที่ 3
ค. หมู่ที่ 2 ง. หมู่ที่ 1
7. การต้มอาหารให้สุกจนเปื่อยนุ่ม
ไม่แข็งกระด้าง เรียกว่า วิธีการใด
ก. การต้ม ข. การเคี่ยว
ค. การตุ๋น ง. การนึ่ง
8. ข้อใดเป็นการสงวนคุณค่าของอาหารประเภทผัก
ก. ควรหั่นผักให้เสร็จก่อน จึงนำไปล้างทำให้สะอาด
ข. ไม่ควรหั่นผักเป็นชิ้นเล็กๆ
และอย่าหั่นทิ้งไว้นาน
ค. การต้มหรือผัดผัก ควรตั้งไฟนานๆจนผักเปื่อย
ง. การล้างผักควรใช้มือขยี้ที่ใบผักเบาๆ
9. การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร
ควรคำนึงถึงหลักในข้อใด
ก. เลือกใช้ผลผลิตที่สุกงอมจัดมากๆ
ข. คำนึงถึงรสชาติมากกว่าคุณค่าทางโภชนาการ
ค.
เป็นการยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ที่มีอยู่ในอาหาร
ง. ไม่มีข้อใดถูก
10.เนื้อเค็ม เป็นการแปรรูปอาหารวิธีใด
ก. การตากแห้ง ข. การดองเค็ม
1.
|
ง
|
2.
|
ข
|
3.
|
ค
|
4.
|
ก
|
5.
|
ง
|
6.
|
ก
|
7.
|
ค
|
8.
|
ข
|
9.
|
ค
|
10.
|
ค
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น